HOME

รางวัลพระปกเกล้า

Separation
           สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะเป็นหน่วยงานอิสระของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของประธานรัฐสภา มีพันธกิจในการส่งเสริมและพัฒนาความรู้และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของการปกครองระบอบประชาธิปไตย  จึงได้จัดให้มีการมอบรางวัลพระปกเกล้า และใบประกาศเกียรติคุณสถาบันพระปกเกล้าขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ซึ่งให้ความสำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นด้านการบริหารงานที่โปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

          ต่อมาในปี 2552 สถาบันพระปกเกล้า ได้เล็งเห็นความจำเป็นในภารกิจหน้าที่และบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีมากขึ้น จึงได้ขยายประเด็นสำหรับการมอบรางวัลพระปกเกล้า ให้ครอบคลุมการดำเนินงานของท้องถิ่น อันได้แก่ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการท้องถิ่น การเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ในท้องถิ่น และการเสริมสร้างเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ ในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา 
ต่อมาในปี 2564 สถาบันพระปกเกล้า เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ซึ่งการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมานั้น ล้วนตอบสนองความต้องการของประชาชนและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง สถาบันพระปกเกล้าจึงได้เพิ่มรางวัลพระปกเกล้า ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม อีกหนึ่งด้าน เพื่อผลักดันและยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินงานขับเคลื่อนประเด็นความเหลื่อมล้ำในระดับพื้นที่มากขึ้น


รางวัลพระปกเกล้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภทรางวัล ดังนี้

  • ประเภทที่ 1 ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • ประเภทที่ 2 ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
  • ประเภทที่ 3 ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

การมอบรางวัลพระปกเกล้าแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 3 ประเภทรางวัล แบ่งการมอบรางวัลพระปกเกล้า ออกเป็น 2 ระดับ คือ

  • โล่รางวัลพระปกเกล้า พร้อมใบประกาศเกียรติคุณสถาบันพระปกเกล้า
มอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผ่านการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการฯ แล้วว่ามีความเป็นเลิศในด้านนั้นๆ
  • ใบประกาศเกียรติคุณสถาบันพระปกเกล้า
มอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ผ่านการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการฯ แล้วว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในด้านนั้นๆ

ทั้งนี้ สถาบันฯ จะจัดให้มีการมอบ รางวัลพระปกเกล้า แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกของคณะกรรมการรางวัลพระปกเกล้า ในงานประชุมวิชาการประจำปีสถาบันพระปกเกล้า ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

วัตถุประสงค์ของรางวัลพระปกเกล้า

Separation

1. เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักธรรมาภิบาลในการปกครองท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักความโปร่งใสในการบริหารงาน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. เพื่อเป็นการส่งเสริมและผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น อันเป็นรากฐานสำคัญที่จะก่อให้เกิดความสันติสุขสมานฉันท์ในระดับชาติ

3. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่บริหารจัดการท้องถิ่น ให้สามารถร่วมมือกับเครือข่ายจากภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการร่วมมือพัฒนาท้องถิ่นไปสู้เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

4. เพื่อเป็นการส่งเสริมและยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินงานขับเคลื่อนประเด็นความเหลื่อมล้ำในระดับพื้นที่มากขึ้น


คุณค่าและประโยชน์

Separation

รางวัลพระปกเกล้า เป็นโครงการที่เปิดกว้างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ส่งผลงานเข้ารับการประเมินจากสถาบันฯ โดยความสมัครใจ ทั้งนี้ ประโยชน์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้รับ มีดังนี้

1. ในการประเมินรางวัลพระปกเกล้า เมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินการในโครงการ สถาบัน จะส่งข้อมูล (Feedback) กลับไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบระดับการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตนเองเมื่อเทียบกับท้องถิ่นอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน รวมถึงทราบจุดเด่น และจุดบกพร่องในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเองเพื่อใช้เป็นแนวทางปรับปรุงในอนาคต นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งเป็นการเปิดมุมมองสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ และนำแนวปฏิบัติที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของตนเองได้อย่างเหมาะสม

2. เป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การตรวจสอบระบบการทำงานภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง และนำไปสู่การสร้างการทำงานเป็นทีม (ในกระบวนการทำความเข้าใจตัวชี้วัด และการเก็บรวบรวมผลงาน) การนำเสนอผลงานทั้งในรูปแบบเอกสาร และการนำเสนอต่อคณะกรรมการ ซึ่งต้องคำนึงถึงการนำเสนอที่ตรงประเด็นชัดเจนและกระชับ ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กรที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากขึ้น

3. กรอบแนวคิดและตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นมานั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้เป็นหลักในการพัฒนาเป็นโครงการต่างๆ ในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อบรรลุความเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ตามที่ตนเองประสงค์ และยังนำไปสู่ความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นด้วย

4. กระบวนการเก็บรวบรวมผลงาน ช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น มีการประสานข้อมูลจากกองหรือสำนักที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้การเก็บรวบรวมผลงานตามตัวชี้วัดยังสามารถรายงานผลการพัฒนาด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชน ได้รับทราบเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และทำให้ประชาชนเห็นภาพการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่ามีแนวทางการพัฒนาอย่างไรนำไปสู่การบรรลุความมุ่งหวังในแต่ละประเภทของรางวัลพระปกเกล้าหรือไม่ รวมถึงหากยังขาดตัวชี้วัดใด ก็สามารถหาแนวทางเพื่อจัดการแก้ไขและพัฒนาในประเด็นที่ยังขาดให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

5. ผลงานที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะถูกรวบรวมเป็นเอกสารเผยแพร่ในวันมอบรางวัลพระปกเกล้า ที่สถาบันฯ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และยังถูกเผยแพร่ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศอีกด้วย ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้ามีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักของสาธารณชนมากยิ่งขึ้น

6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ส่งผลงานเข้าร่วมทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านการประเมินรางวัลพระปกเกล้า จะได้รับการวบรวมรายชื่อในฐานข้อมูลเครือข่ายรางวัลพระปกเกล้า โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการประเมินจะได้รับการส่งเสริม สนับสนุนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่ผ่านการประเมินจะได้รับการสนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยยกระดับของท้องถิ่น ให้เข้าสู่มาตรฐานรางวัลพระปกเกล้าในโอกาสต่อไป

7. ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการพิจารณาให้มีความเป็นเลิศเพื่อรับรางวัลพระปกเกล้า มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษจากสถาบันฯ ในการเข้าศึกษาอบรมในหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงของสถาบันฯ ได้แก่

7.1 หลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง

7.2 หลักสูตร การเสริมสร้างสังคมสันติสุข 

7.3 หลักสูตร การบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน


Banner

ข้อแนะนำสำหรับ อปท.

Separation

การประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรับรางวัลพระปกเกล้า เป็นการวัด “ภารกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก” ตามภารกิจความรับผิดชอบในงานด้านต่างๆ ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความประสงค์ที่จะส่งผลงานเข้าร่วมควรมีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ โดยมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้

1. รางวัลพระปกเกล้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เลือกสมัครได้ 1 ประเภท ต่อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง โดยกรอกใบสมัคร และจัดเตรียมเอกสารผลงานแยกตามประเภทรางวัล

2. ตั้งคณะทำงานประกอบด้วยบุคลากรจากทุกฝ่าย/กอง/สำนัก จำนวน 1 ชุด เพื่อรวบรวมผลงานที่กระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ โดยคณะทำงานนี้ควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจต่อ “กรอบแนวคิดและตัวชี้วัด” ที่สถาบันฯ ได้กำหนดไว้ในแต่ละประเภทรางวัล

3. จัดประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อร่วมกันทบทวนกิจกรรมหรือโครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ดาเนินการในปีงบประมาณที่ผ่านมาว่ามีกิจกรรม / โครงการ / การกระทำใดๆ ที่สอดคล้องหรือบรรลุถึงตัวชี้วัดดังกล่าว และอยู่ในภารกิจของหน่วยงานใด

4. มอบหมายให้ผู้แทนแต่ละฝ่าย / กอง / สำนักที่เป็นคณะทำงานฯ กลับไปรวบรวมผลงานที่ดาเนินการในปีงบประมาณที่ระบุตามที่ได้ช่วยกันแยกแยะไว้แล้วตามข้อ 2 ทั้งนี้สิ่งที่ต้องคานึงถึงคือ หากมีผลงานที่จะนาเสนออยู่มากควรร่วมกันพิจารณาเลือกผลงานที่โดดเด่น เป็นความคิดสร้างสรรค์ มีผลสาเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จนเป็นที่ประจักษ์

5. การนาเสนอผลงานประกอบในแต่ละตัวชี้วัด ไม่ควรนามาตัดต่อหรือปะติด แต่ควรมีการเรียบเรียงเนื้อหาของผลงานให้มีความกระชับ เพื่อให้คณะกรรมการเห็นเนื้อหาที่ชัดเจน และตรงประเด็น

6. การกรอกเอกสารใบสมัครและการจัดทำเอกสาร

(6.1)ให้แยกใบสมัครออกจากเอกสารหลักฐานเพื่อความสะดวกในการตรวจเช็คเอกสารหลักฐาน
(6.2)การแนบเอกสารหลักฐาน ต้องมีการระบุหมายเลขเอกสารหลักฐานกำกับให้ชัดเจนตามข้อคำถามที่ต้องการแนบเอกสารประกอบ

*** ข้อพึงระวังในการกรอกเอกสารใบสมัครและหลักฐานที่แนบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้ความสาคัญและใส่ใจในการตอบทุกข้อคาถามตามข้อเท็จจริง พร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานประกอบในข้อที่ให้แนบเอกสารหลักฐาน และที่สาคัญอย่างยิ่งต้องมีความรับผิดชอบกับสิ่งที่ตอบคาถามอย่างเคร่งครัด ***

7. ตรวจสอบความสมบูรณ์ ครบถ้วน โดยอาจให้ผู้บริหารหรือคณะทางานช่วยกันวิพากษ์รูปแบบและเนื้อหา เพื่อให้ผู้รวบรวมได้นาไปปรับแก้ก่อนส่งผลงานจริง

8. จัดส่งผลงานตามช่องทางและระยะเวลาที่สถาบันฯ กำหนดพร้อมตรวจสอบการได้รับเอกสาร

*** หมายเหตุ : วิธีการประเมินตนเองเพื่อสมัครในรางวัลด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ และรางวัลด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม ***

a.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครในประเภทรางวัลด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ มีหลักเกณฑ์ขั้นต้น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีการดำเนินกิจกรรม อาทิ
-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดาเนินโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
-กิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีภายในท้องถิ่น
-กิจกรรมคุ้มครองสิทธิทางสังคม
-กิจกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อการแก้ไขปัญหาในชุมชน การใช้กระบวนการยุติธรรมชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
b.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครในประเภทรางวัลด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม มีหลักเกณฑ์ขั้นต้น โดยต้องมีความชัดเจนที่แสดงให้เห็นความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นไป หรือร่วมกับหน่วยงาน หรือกลุ่มองค์กรภาคประชาชนต่างๆ เป็นต้น